วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โรงเห็ดอัตโนมัติ


โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนเทศบาล3 วันฃดชัยมงคล จ.อ่างทอง
โรงเห็ดอัตโนมัติ ต่อยอดจากการคิดค้น
อุปกรณ์สร้างหมอกน้ำ/น้ำฝอยยูเล็ม -ULEM (Ultra Low Energy Mist)  โรงเห็ดอัตโนมัติได้ออกแบบให้มีขนาดบรรจุก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 1 000ก้อน  ขนาดโรงเห็ด= ก2.40xย2.40xส2.50เมตร โครงสร้างทำด้วยเหล็กชุบสังกะสีทั้งหลัง และคุมด้วยผ้าใบ Supper Blue Sheet อย่างดีตัดเย็บเข้ารูปกับโครงสร้าง มีประตูเข้าทางด้านหน้าและหลัง การระบายอากาศใช้พักลมเล็ดขนาก 5นิ้วจวนวน 6 ตัว และให้ความชื้นโดย ยูเล็ม จำนวน 4ตัว การทำงานเป็นอย่างอัโนมัติ โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของยูเล็ม และพัดลมระบายอากาศ ให้ทำงานหรือหยุดการทำงานนตามเวลา ที่กำหนด  สามารถเพาะเห็ดได้ทุกชนิด ไม่ว่าเห้ดในเขตร้อนหรือเขตหนาว เช่นเห็ด โคนญิปุ่น เห็ดหัวลิง เห็ดหลินจือ เห็ดนางฟ้า เห็ดโอรินจิ เห็ดหูหนู และเห็ดอื่นๆเป็นต้น


โรงเห็ดอัตโนมัติ เหมาะสำหรับ

  1. การเพาะเลี้ยงเห็ดก้อนทุกชนิด
  2. เพาะเห็ดในรูปแบบอุตสาหกรรม
  3. โครงการอาหารกางวันโรงเรียน โครงกาเสริมรายได้และสร้างอาชีพชุมชน
  4. โครงการหมู่บ้านเห็ด  หรือการเพาะเลี้ยงเห็ดหลายๆชนิดในที่เดียวกัน โดยมีโรงเห็ดหลายๆโรงและกำหนดให้แต่ละโรงทำงานแตกต่างกัน  ในเรื่อง อากาศ ความชื้น และอุณหภูมิ เพื่อให้เหมาะกับเห็ดในชนิดนั้นๆ
  5.   
  6. ใช้ไฟฟ้าขนาด 220vAC (ไฟฟ้าใช้ในบ้านธรรมดา) สามารถแปลงช้กับแผงรับพลังแสงอาทิตย์อย่างโซลาเซล์(Sola )
ส่วนประกอบของโรงเห็ดอัตโนมัติ
  1. โครงสร้างเหล็กชุบสังกะสีขนาดพิเศษ ต่อเป็นรูปโครงข้อหมุน(TRUSS )ทั้งหลัง ขนาด 
    ก2.40xย2.40xส2.50เมตร
  2. ผ้าBlue Sheet อย่างหนาตัดเย็บตามรูปของโครงสร้าง มีประตูผ้า2บานปิดด้วยแถบตีนจิ้งจกตลกความยาวประตู มีช้องระบายอากาศที่บริเวณจัวทั้งด้านหน้าและหลัง
  3. ระบายอากาศโดยพัดลมขนาด5นื้นจำนวน 6ตัว 
  4. คานแขวนก้อนเชื้อเห็ดเป็นอลูมิเนียมกล่องขนาด ประมาณ 1  3/4นิ้วx 1  3/4นิ้ว หนา 0.5มม. จำนวน4ท่อน
  5. แป้นแขวนเห็ดจำนวน 67ชุด
  6. อุปกรณ์สร้างหมอกน้ำ/ความชื้น ยูเล็ม จำนวน 4ตัว
  7. อุปกรณ์ควบคุมการทำงานและตั้งเวลา 1กล่อง
  8. วาวล์น้ำไฟฟ้า 1ตัว
  9. ผลงาน
    • โครงการส่วนพระองค์สมเด้จพระเทพฯ วังสวนจิตรลัดดา โครงการทกลองเพาะเห็ดหลินจือ และเห้ดหัวลิง จำนวน 4โรง
    • โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนเทศบาล3 วัดชัยมงคล จำนวน 1โรง
    • โครงการช่วยพี่น้อง 3ชายแดนภาคใต้ จำนวน 50โรง
    • โครงการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ 110โรง

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ยูเล็ม

อุปกรณ์สร้างหมอก/ฝอยน้ำ ยูเล็ม(ULEM),โรงเห็ดอัตโนมัติ,แปลงผักอัตโนมัติ, อุปกณ์การทำเห็ด,ก้อนเชื้อเห็ด,เชื้อเห็ด


อุปกรณ์สร้างหมอกน้ำ/ฝอยน้ำULEM


ยูเล็ม ULEM ย่อมาจาก  Ultra Low Energy Mist โดยรศ.ดร ปองวิทย์ ศิริโพธิ์ เป็นผู้คิดค้นและพัฒนาขึ้นเป็นคนแรกของโลก การทำงานของยูเล็ม ใช้หลักการณ์สร้างหมอกน้ำจากแรงเหวี่ยงของจานหมุน ไม่ใช้หัวฉีด ทำให้ยูเล็มมีจุดเด่น กว่าระบบสปริงเกลอร์ ตรงที่ ใช้น้ำอะไรก็ได้ไม่มีการตัน อีกทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปั้มน้ำยูเล็มได้ถูกพัฒนาขึ้นมาหลายรุ่น จนถึงปัจจุบัน  อาจารย์ปองวิทย์และบ้านเห็ด ได้แก้ไขข้อเสียของยูเล็มรุ่นก่อนๆ ตลอดจนได้พัฒนาจานยูเล็มขึ้นมาใหม่ล่าสุด  คือจานยูเร็มรุ่นมีขน







จานยูเล็มรุ่นนี้จะมีขนขึ้นโดยรอบจาน ทำให้การทำงานของยูเล็มเป็นไปได้หลาย ลักษณะงาน  ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานเช่น ใช้ให้ความชื้นในโรงเพาะเห็ด  ใช้ให้ความชื้นและรดน้ำในเรือนกล้วยไม้ หรือใช้รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นย่าฆ่าแมลงในแปลงผัก และใช้ลดความร้อนในปศุสัตว์เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หม้อนึ่งโคตรร้อน รุ่นพกพา

หม้อนึ่งโคตรร้อน แบบเล็ก ที่มีประสิทธิภาพสูงเกินตัว มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ  23กิโลกรัม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 33.5 ซ.ม และสูงประมาณ 29.7 ซ.ม มีหูหิ้วสามารถหิ้วเคลื่อนย้ายได้สะดวก  สามารถต้มน้ำให้เดือดได้ในเวลาไม่เกิน 1นาที่ ได้ไอน้ำร้อนสูง 100-500องศาเซลเซียส ( แต่แนะนำให้ใช้งานที่ความร้อนไอที่ 99-100 องศาเซลเซียสดีที่สุด)ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ดร่วมกับมหาวิทยาลัยเทโนพระจอมเกล้าฯ ได้คิดค้นหม้อนึ่งโคตรร้อน รุ่น TURBO( ใช้สำหรับการทำก้อนเชื้อเห็ดแลบบอุสาหกรรม และครบวงจร ทั้งนึ่งฆ่าเชื้อ+นึ่งก้อนเห็ดในตัวเดียวกัน สามารถนึ่งก้อนเห็ดที่อุณหภูมิ 100-150 องศาเซลเซียส)ดูกันจะ..จะ..จิ๋วแต่แจ๋ว..



เหมาะมากสำหรับ
  1. ทำการฆ่าเชื้อโรคในโรงเพาะ เช่นโรงเห็ดเก่า ที่มีเชื้อราอื่นอยู่เต็ม จนไม่สามารถเพาะเลี้ยงเห็ดได้อีก
  2. อบโรงเพาะเห็ดฟาง ผู้ที่ทำเห็ดฟางในโรงเรือน ที่ต้องการความร้อนในโรงเรือนเพียง 80-90 องศาเซลเซียส
  3. นึ่งก้อนเชื้อเห็ดได้สุกเท่าเทียมกันหมดในเวลาอันสั้น และประหยัด ตั้งแต่1ก้อน-300ก้อน
    นึ่งก้อนเชื้อเห็ด แบบตามใจ..กู
    การนึ่งก้อนเห็ดในแบบ ตามใจ...กู คือจะนึ้งกี่ก้อนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ โดยใช้แนวคิดง่ายๆ คือ การให้ไอร้อนเข้าได้สะดวก ต้องให้ไอร้อนออกได้สะดวก และการวางก้อนเห็ดในหม้อนึ้งต้องจัดให้ก้อนเห็ดมีระเบียบ

    ให้ไอร้อนเข้าถึงได้ทุกก้อน  ทั้งหมดนี้เป็นที่มาของ "หม้อนึ้งแบบตามใจ..กู"ทำให้ดูแล้ว..ดูเลย..

     


    มีอะไรบ้าง ในชุดหม้อนึ่งโครตร้อน รุ่นพกพา


    1. ฝาครอบ พร้อมท่อระบายความร้อนทำด้วยเหล็กพับ/เชื่อมขึ้นรูปทำหน้าที่ กันลม และให้แก๊สได้เผาไหม้ได้สมบูรณ์ที่สุดตามที่ออกแบบ
    2. ระบบท่อ และหม้อโคตรร้อน พร้อมวาวร์ควบคุม ตามที่วิศวะกร"บ้านเห็ด" ออกแบบ
    3. หัวแก๊สขนาดใหญ่ ติดตั้งกับโครงหม้อนึ่งโคตรร้อน พร้อมใช้งาน
    4. CD สอนการใช้งาน
    5. รับประกัน1เดือน

    หม้อนึ่ง โคตรร้อน รุ่นพกพา ครั้งแรกของโลก ที่ให้ความร้อนไอที่100องศาเซลเซียส ภายในไม่เกินนับ1 2 3....10 ครับ..แนวคิดแบบ"บ้านเห็ด" ที่คนทำเห็ดไม่ว่ามือใหม่ หรือระดับอาชีพต้องมีให้ได้ ราคา หลัก..x,xxx บาทเท่านั้น


    วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

    หม้อนึ่งโคตรร้อน รุ่น TURBO



    หม้อนึ่งแรงดัน
    หม้อนึ่งก้อนเชื้อ






    การเพาะเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง รวมทั้งทำอาหารวุ่น PDA มีความต้องการใช้ หม้อนึ่งแรงดัน
    (ที่อุณภูมิประมาณ120 องศาเซลเซียส)
    เพื่อฆ่าเชื้อโรค และ การทำก้อนเชื้อเห็ด เกษตรกรต้อง
    ใช้หม้อนึ่งก้อนเชื้อเห็ด(อุณหถูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส)  เป็นเครื่องมือที่สำคัญ อีกทั้งราคาของหม้อนึ่งทั้งสองรวมกันประมาณ กว่า
    50,000-80,000บาททั้งนี้ขึ้นกับปริมาณความจุของหม้อในแต่ละชนิด

    หม้อนึ่งโคตรร้อน ได้ออกแบบให้สามารถใช้แทนหม้อนึ่งทั้งสองอย่าง ทั้งยังมีประสิทธิภาพสูงกว่า ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
                                                                                          
    หม้อนึ่งโคตรร้อน (ด้านหน้า)
    หม้อนึ่งโคตรร้อน(ด้านข้าง)


    การทำงานของหม้อนึ่งโคตรร้อน

    หม้อนึ่งโคตรร้อน ใช้หลักการทำงานของ ระบบ Water Tube Boiler และ Fire Tube Boiler คือการต้มน้ำในจำนวนน้อย ทำให้น้ำเดือดเป็นไอร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ได้ในเวลาสั้น(ไม่เกิน 5 -10วินาที)  จากนั้นนำไอร้อนมาเผาต่อทำให้ได้อุณหภูมิสูงขึ้นจาก 100-500 องศาเซลเซียส ภายในไม่เกิน 1-5 นาที หรือเรียกว่า โคตรร้อน(Super Heat)



    ส่วนประกอบ ขนาด/วัสดุ

    1. หม้อนึ่งโคตรร้อน ขนาด เส็นผ่าศูนย์กลางประมาณ52 ซม.x สูง 123ซม. และระยะด้านข้างจากท่อระบายความร้อนถึงท่อจ่ายไอ้ร้อน 110ซม.วัสดุเหล็กหนาประมาณ 2.9 มม. ทำสีกันสนิม จำนวน 1ชุด
    2. มีตะแกรงเหล็กกลม สามารถใส่ขวดแบบและขวดกลมได้ประมาณ 120ขวด จำนวน 3ตะแกรง
    3. มีผาปิดทำด้วยเหล็กหนา 2.9 มม.จำนวน 1 ฝา
    4. ระบบท่อโคตรร้อน เป็นท่อเหล็กขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง 1นิ้ว มีวาวร์กันกลับ วาวร์จ่ายน้ำ ระบบลูกลอย และ Safety valve ปรับได้ จำนวน 1 ชุด
    5. มิเตอร์วัดอุณหภูมิ และความชื้น จำนวน 1ตัว
    6. หัวแก๊สขนาดประมาณ 28-30 ซม. จำนวน 1หัว
    ขั้นตอนที่1 การเตรียมตัว

    รูปที่1 แสดงการเผาท่อให้มีความร้อนสูงสุด


    ขั้นตอนนี้เป็นการเผาท่อให้ได้ อุณภูมิสูงสุด

    ขั้นตอนที่2 นึ่งก้อนเชื้อเห็ด

    รูปที่2 แสดงการเติมน้ำในท่อ และการเผาซ้ำ ในระบบโคตรร้อน(Super Heat)
    การเติมน้ำให้ได้ปริมาณและความเร็วพอเหมาะจะทำให้น้ำจะเดือดในท่อ จนเป็นไอน้ำได้ ภานใน 5 -10
    วินาที และขดท่อส่งไอน้ำไปเผาต่อ จนได้ความร้อนสูงขึ้นที่เราเรียกว่า โคตรร้อน หรือ Super Heat สามารถทำความร้อนได้ตั้งแต่ 100 -500  องศาเซลเซียส ไปใช้ในการนึ่งก้อนเห็ด

    ขั้นตอนที่3 นึ่งขวดแทนหม้อนึ่งแรงดัน

    รูปที่3 นำไอร้อนแบบโคตรร้อนนึ่งขวด


    ในเมื่อหม้อนึ่งโคตรร้อน สามารถทำให้ไอน้ำมีความร้อนสูงได้ถึง500องศาเซลเซียสได้ ความคิดที่จะนำความร้อนที่ได้ไปใช้ในการนึ่งอาหารวุ่น PDA และเมล็ดข้าวฟ่าง หรือนึ่งเครื่องมือการเขี่ยเชื้อ พร้อมกับการนึ่งก้อนเชื้อเห็ด ในเวลาเดียวกัน จะทำให้ได้งาน2อย่างในเวลาเดียวกัน และประหยัดพลังงานได้อย่างสูง  หม้อนึ่งโคตรร้อนมีตะเกรง 3ชั้น สามารถนึ่งขวดแบบและกลมได้พร้อมกัน ประมาณ 120ขวด

    ขั้นตอนที่4 การนำความร้อนกลับ



    หม้อนึ่งโคตรร้อน ได้ออกแบบให้ประหยัดพลังงานสูงสุด โดยนำความร้อนที่เหลือกลับมาเข้าระบบ ทำให้
    หม้อนึ่งโคตรร้อน เป็นหม้อนึ่งที่ใช้ในการทำเห็ดที่สมบูรณ์แบบที่สุด ประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย และเวลา

    สั่งจองหม้อนึ่งโคตรร้อน(Super Heat Boiler) ได้ที่ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ดทุกสาขา หรือ www.banhed1888.blogspot.com  Tel 087-77-46180

    วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

    ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด-กล้วยไม้


    ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด


    ตู้เขี่ยเชื้อนับว่ามีความจำเป็นระดับต้นๆ ของผู้ที่ทำอาชีพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เช่น เห็ด กล้วยไม้

    การออกแบบตู้เขี่ยเชื้อเห็ด
    เริ่มจากแนวคิดที่ว่า การเขี่ยเชื้อต้องอยู่ในที่ที่ปลอดเชื้อ โดยใช้ยูวี (Ultraviolet Type C หรือตัวย่อ UVC) มีช่วงความยาวคลื่นประมาณ 100-280 nm(นาโนเมตร) เป็นอุปกรณ์ในการฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ภายในตู้

     ฉะนั้นหัวใจในการออกแบบคือ อากาศภายในตู้ต้องปลอดเชื้อ ลักษณะของโครงสร้างภายนอกเป็นตัวป้องกัน และกักอากาศไว้  เพื่อให้อากาศสัมผัสกับ แสงยูวีมากที่สุด  การออกแบบให้ตู้เขี่ยเชื้อเอียง(อย่างตู้เขี่ยเชื้อทั่วไป)  ไม่ใช่เป็นสิ่งจำเป็นในการฆ่าเชื้อโรค  แต่เพียงเพื่อความสะดวกในการทำงานเท่านั้น

    ทำตู้เขี่ยเชื้อเห็ดใช้เอง(กล่องกระดาษ)  ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด(กระดาษ)ได้เกิดขึ้นครั้งแรกโดย อาจารย์ทวียศ ศรีสกุลเมฆี ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ด(บ้านเห็ด) เห็นว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่คนที่เรียนเพาะเห็ด จะสามารถนำความรู้ในเรื่องการเขี่ยเชื้อเห็ดไปใช้ได้ เพราะตู้เขี่ยเชื้อ หรือห้องปลอดเชื้อในปัจุบันราคาสูงมาก  จึงได้คิดออกแบบตู้เขี่ยเชื้อทำด้วยกระดาษขึ้นใช้ ครั้งแรกในต้นปี พ.ศ 2556


    อ.ทวียศ ศรีสกุลเมฆี วิศวะกร ที่ชอบเกษตร และขอทำเกษตรในแนววิศวะ


    ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ ทำด้วยกระดาษลูกฟูก(กล่องกระดาษแข็ง)  รูป4เหลี่ยม เจาะรูใส่กระจกและมีฝาเปิดพอให้มือสามารถมุดเข้าไปทำงานได้ ติดตั้งหลอด ยูวี ฆ่าเชื้อโรค และหลอดนีออน ให้แสงสว่าง  มีการระบายอากาศร้อนแบบธรรมชาติ

    ข้อดีของตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ     
    1. ราคาถูก สามารถทำใช้เองได้
    2. ใช้ในงานสนามได้ดี ประกอบง่าย น้ำหนักเบา
    3. เคลื่อย้ายได้ง่าย
    (YouTube) แนะวิธีทำตู้เขี่ยเชื้อกระดาษใช้เอง




    นวัตกรรมใหม่ของวงการเห็ด "ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด(กระดาษ)"


    เหมาะใช้สอนในศูนย์เรียนรู้ เห็ด
    ปัจจุบันตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ) เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างของผู้ที่ทำอาชีพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อเห็ด-กล้วยไม้เป็นอย่างมาก  เราได้มีการออกแบบและปรับปรุงตู้เขี่ยเชื้อกระดาษออกมาหลายรุ่น จนถึงรุ่นปัจุบันได้มีการออกแบบร่วมกับโรงงานผลิดกล่องกระดาษที่ได้มาตรฐาน  มีการพับ เจาะรู้และตัด โดยเครื้องมืออันทันสมัย ตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ)รุ่นปัจจุบัน จึงเป็นรุ่นที่สมบูรณ์ที่สุด

    วัสดุ/อุปกรณ์

    1. กระดาษกล่องลูกฟูก หนา5ชั้นอย่างดี
    2. การพับและประกอบ  โดยใช้วิธีการออกแบบกล่องกระดาษรับน้ำหนัก
      สะดวกพร้อมใช้งาน
    3. การเจาะช่องและรูได้มาตรฐานเดียวกันทุกตู้
    4. มีจุดยึด Lock 4จุด
    5. ติดระบบระบายความร้อนในตู้  โดยพัดลมดูดอากาศทั้งนี้ไม่ส่งผลให้อากาศภายนอกเข้ามาทำให้อากาศภายในตู้ไม่สะอาด
    6. ติดตั้งยูวี ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบ C หรือ UVC ขนาด10W
    7. มีหลอดไฟนีออนขนาด 10W




    ตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ)รุ่นใหม่




    คู่มือการใช้ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ


    การประกอบตู้เขี่ยเขื้อกระดาษ




    ขั้นตอนที่ 1. ใส่หลอดยูวี หรือ UVC(หลอดใส) ลงบนขาหลอดล่างสุด ส่วนบนใส่หลอดนีออน(หลอดสีขาว)
    ขั้นตอนที่2. ประกอบกล่อง ปิดฝาล็อกให้เรียบร้อยทั้ง 4จุด

    รูปขยายการเปิดช่องสำหรับสอดมือ









    ขั้นตอนที่3. ปิดช่องสำหรับสอดมือเข้าทำงานในตู้ให้สนิท จากนั้นเสียบปลั๊กไป และเปิดไฟ ( UV)ให้สว่าง อบทิ้งไว้10-30นาที
    หมายเหตุ  ขนะใช้งานให้ปิดไฟ UV และเปิดไฟนีออนเท่านั้น





    การเตรียมตู้เขี่ยเชื้อกระดาษให้พร้อมทำงาน
    เทคนิคที่ต้องรู้ คือแสงยูวี(UVC)ใช้ฆ่าเชื้อโรคอากาศภายในตู้ได้(ความจริงเชื้อโรคตายเพราะความถี่ของยูวี) ถ้าแสงไปถึงทีใดก็จะฆ่าเชื้อโรคได้

    1. ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษใช้ไฟฟ้า 220 VAC(ไฟฟ้าในบ้านทั่วไป)
    2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขี่ยเชื้อควรอบพร้อมตู้ ยกเว้นเชื้อที่จะทำการเขี่ย 
    3. ควรปิดตู้และอบตู้ที้งไว้อย่างน้อย 10-30นาทีก่อนใช้งาน ไม่ต้องพ่น แอลกอฮอร์ในตู้ เพราะไม่ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคเลย 
    4. เสื่อน้ำมันควรเช็ดด้วย แอลกอฮอร์ 75-80 % และอบยูวีพร้อมตู้เขี่ยเชื้อ
    5. ปืดหลอดยูวี ทุกครั้งขนะทำงาน
    6. เปิดหลอดนีออน ให้แสงภายในตู้เขี่ยเชื้อ และพัดลมเล็กจะเริ่มทำงานพร้อมเปิดหลอดนีออน
    7. ความร้อนที่สะสมไว้ขณะทำงาน ซึ่งเกิดจากตะเกียงแอลกอฮอร์ จะไปรวมกันที่ที่ฝาบนของตู้เขี่ยเชื้อ และจะระบายออกโดยพัดลมเล็ก
    8. กรณีใช้ตู้เขี่ยเชื้อทำงานในสนาม ต้องใช้หินทับที่ขาตู้ไว้กันปลิวจากลม
    การใช้งานตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ
    • ไม่ควรทำงานติดต่อกันนานไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง  หลังจากนั้นควรปิดตู้อบยูวีอีกครั้ง 10-30นาที เพื่อให้อากาศภายในตู้ได้ถูกฆ่าเชื้อทั้งหมด
    • ตู้เขียเชื้อกระดาษห้ามโดนน้ำเด็ดขาด
    • ควรเขี่ยเชื้อตอนเช้าเพราะเสื้อผ้า และร่างกายผู้ทำงานสะอาดที่สุด
    • เครื่องมือต้องนึ่ง หรือ ต้มในอุณหภูมิ100 C (น้ำเดือด) และจับเวลาต่อไปอีก30นาที กรณีไม่มีหม้อนึ่งเครื่องมือแบบแรงดัน  ถ้ามีหม้อนึ่งแบบแรงดันทำตามคำแนะนำของสินค้านั้นๆ
    เอกสารคู่มือการใช้ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษผ่าน SMART PHONE




    QR Code เริ่มเป็นส่วนหนึ่งของโทรศัพย์มือถือทุกรุ่นในปัจจุบัน  ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ดเห็นความสำคัญและความสะดวกโดยทำ QR Code ไว้ที่หน้าตู้เขี่ยเชื้อกระดาษทุกตู้ เพื่อให้ผู้ที่จะใช้ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ สามารถดูคู่มือของตู้เขี่ยเชื้อกระดาษได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงให้โทรศัพย์ของท่านอ่าน รหัส QR Code ด้านหน้าเท่านั้น






    วิธีใช้งาน






    วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

    คีมย้ำโครงเหล็ก

    ทำงานเหล็กได้โดยไม่ต้องเชื่อม รีเว็ต หรือสกรู ผู้หญิงก็ทำได้  คีมย้ำโครงเหล็กชุบสังกะสี สามารถยึดเหล็กชุบสังกะสีให้ติดกันได้ โดยไม่ต้องใช้ การเชื่อม รีเว็ต หรือ สกรู ทำให้เกษตรกรสามารถสร้างโครงสร้างเหล็กได้ด้วยตัวเอง  อย่างไม่มีขีดจำกัด เช่นโครงเหล็กโรงเห็ด หรือ โครงเหล็กแท็งค์น้ำเพื่อการเกษตร น้ำหนักเบา ทำได้เร็ว ที่สำคัญราคาถูก กว่าโครงสร้างที่ทำด้วยไม้ไผ่ 







    เหมาะสำหรับ
    คีมย้ำโครงเหล็ก


    1. สร้างโรงเห็ดใช้เอง โดยใช้เหล็กชุบสังกะสีเป็นโครงสร้างป้องกันความชื้น คงทน ใช้งานได้นานปีกว่า เคลื่อนย้ายหรือติดตั้งแบบถาวรได้ ราคาถูก สร้างได้เร็ว
    2.สร้างแท็งค์น้ำใชในการเกษตร รับน้ำหนักได้ดี ราคาถูก สร้างได้ง่าย
    3.ใช้เป็นเครื่องมือช่างในการทำผนังเบา และฝ้า ยิปซั่ม(C-Line)


    ประโยชน์

    1. ยึดเหล็กชุบสังกะสีขนาด 0.4-1 mm.ได้ด้วยตัวมันเอง ไม่ต้องใช้วัสดุอื่น เช่น สกรู รีเว็ต หรือการเชื่อม
    2.ใช้ทำงานได้ทุกที่ไม่ต้องใช้พลังงานจากไฟฟ้า  และวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆเช่น สกรูหรือ ตัวรีเว็ตเป็นต้น
    3.ใช้เป็นเครื่องมือช่างการทำงาน ยิปซัม ซี ลาย (C-Line)

     ติดต่อหาซื้อ/สั่งจองได้ที่ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ด และร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป(กำลังวางสินค้าทั่วประเทศ) เร็วๆนี้  ติดต่อเป็นตัวแทนสินค้าได้แล้วที่  

    วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

    แป้นแขวนก้อนเชื้อเห็ด "บ้านเห็ด" รุ่นใหม่




    แป้นแขวน รุ่นใหม่
    แขวนก้อนเห็ดหูหนู
    แป้นแขวนก้อนเชื้อเห็ด "บ้านเห็ด" เป็นแนวคิดใหม่ที่จะสามารถใช้แป้นแขวนก้อนเห็ด ในลักษณะไดก็ได้ตามการใช้งานของเกษตรกร เช่นแป้นแขวนเห็ดใช้กับเห็ด หูหนู ที่ต้องการให้เห็ดออกทางด้านข้างถุง  หรือต้องการให้เห็ดออกที่จุกขวด เช่นเห็ดนางฟ้า ก็สามารถปรับทำได้ง่ายความแตกต่างระหว่างแป้นแขวนรุ่นเก่าที่ใช้กันในปัจจุบัน กับรุ่นใหม่ที่"บ้านเห็ด"ได้ทำขึ้น คือลักษณะการใช้งานและความคงทน  การใช้งานแป้นเห็ดรุ่นใหม่ใช้งานง่าย สามารถถอดและใส่เชือกได้ง่ายโดยไม่ต้องถอดเชือกออก สะดวก สบาย เป็นการแก้ปัญหาที่เกษตรกรพบอยู่   เช่นการบิดของเชือกขณะเรียงก้อนเชื้อเห็ด


                                               การใช้งานเพียงบิดแล้วใส่เชือก เท่านี้ก็เสร็จทั้งใส่และถอด

                                               แป้นแขวนเห็ดออกจากเชือก และที่สำคัญมากสุด คือราคาเดิม..เดิม
    แขวนก้อนเห็ดหูหนู
    การติดตั้ง

    ขนาดของแป้นแขวนก้อนเชื้อเห็ด"บ้านเห็ด"

    1. เส็นผ่าศูนย์กลาง  100 มม.(10 ซม.)
    2.ทำด้วยพลาสติก PP หนาประมาณ 2มม. สีแดง
    3.มีรูใส่เชือก 4 รู
    4. ด้านหลังมีตราบ้านเห็ด และwww.banhed.com
    มีจำหน่ายที่ ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ด และสาขาใกล้บ้านท่านเท่านั้น